โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)
การพัฒนาอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ศูนย์กลางสำคัญของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
นิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอกว่า 12 แห่ง ตั้งอยู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในจังหวัดระยอง และชลบุรี มีเนื้อที่กว่า 77,600 ไร่ (30,700 เอเคอร์) นักลงทุนในนิคมของเราได้รับผลประโยชน์จากแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0
กลยุทธ์การส่งเสริมการลงทุนใหม่พัฒนาโดยสำนักงานระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก อีกทั้งทั้งพรบ. ส่งเสริมการลงทุนยังได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มหรือยกระดับสิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุนรายใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและมีความสามารถในการผลิตนวัตกรรม และการวิจัย เพื่อให้การลงทุนและการพัฒนาของอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกของไทยก้าวไปอีกขั้น อุตสาหกรรมห้าประเภทจะได้รับการยกระดับ และอุตสาหกรรมอีกห้าประเภทที่เหลือได้รับการตั้งเป้าเป็นกลไกลใหม่ในการขับเคลื่อนประเทศไทย
ประเทศไทย 4.0 - ประสานความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตเข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ แสดงศักยภาพของประเทศไทยในการปฏิวัติโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ และขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้นโยบายที่น่าดึงดูดเพื่อเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ด้วยการบูรณาการเครือข่ายไซเบอร์และการผลิตในโลกแห่งความเป็นจริง การเชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบ Internet of Things (IoT) เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อสายการผลิตและกระบวนการต่างๆ ในโรงงาน
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก นอกจากจะเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการยอมรับในระดับด้านการลงทุนในต่างประเทศแล้ว ก็ยังมีโครงสร้างขั้นพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่เหมาะสมอยู่แล้ว โลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการขนส่งสาธารณะ กำลังอยู่ในขั้นพัฒนาครั้งใหญ่ เพื่อให้เชื่อมโยงกับการตลาดระหว่างประเทศ โดยการใช้รางรถไฟ รถไฟฟ้าความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ การขยายถนนทางหลวง การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและการขยายสนามบินทั้งสามแห่งใกล้กรุงเทพฯ ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคมหาชนและภาคเอกชน และสถาบันทางการศึกษาจะทำให้เกิดกลไกที่ดี ครอบคลุมด้านต่างๆ เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร การศึกษาและการสนับสนุนจากภาครัฐ
อุตสาหกรรมเป้าหมาย 12 ประเภทของอีอีซี
• อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
• อุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์อัจฉริยะ
• อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
• อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
• อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
• อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
• อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
• อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
• อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
• อุตสาหกรรมดิจิตอล
• อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ
• อุตสาหกรรมการพัฒนาบุคลากรและการศึกษา